วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Color Model มาทำความรู้จักเรื่องของสี และคุณสมบัติต่าง ๆ ของสี

Color Model มาทำความรู้จักเรื่องของสี และคุณสมบัติต่าง ๆ ของสี

Review : Color Model 
วันนี้มีสาระกันนิดนึง ฮาาา วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเรื่องสีกัน เรื่องของสี และคุณสมบัติต่างๆของสี ที่มีขายกันอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดและหาได้ง่าย ซึ่งวันนี้เป็นการเพียงยกตัวอย่างบางส่วน ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะว่าเราถ่ายรูปตัวอย่างจากสินค้า ของร้าน Go Animate ซึ่งเขามีสินค้าตอนที่ไปมีเท่านี้ เราเลยทำ Review เท่าที่สินค้าในร้านมี
ส่วนผู้ให้ความรู้เรื่องสีในวันนี้ คือ คุณ เอก SonicRoute แห่งร้าน Go Animate จะเป็นผู้ให้การแนะนำเรื่องสีในครั้งนี้
คุณ เอก SonicRoute ได้รับรางวัลอันดับ 2 รุ่น Open ในปี 2013
ผลงานของคุณ เอก SonicRoute ที่เขาร่วมประกวดในปี 2013
มาดูการอธิบายเรื่องของสีในการทำโมเดลของคุณเอก กันเลยครับ
สีสูตรทินเนอร์ยี่ห้อ gunze สำหรับโมเดลพลาสติก จะเป็นสีทั่วไป สามารถใช้ทา หรือพ่นด้วยแอร์บรัชก็ได้ โดยใช้ทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย ที่เห็นเขียนว่า mr.color ก็คือไลน์การผลิตนั่นเอง คล้ายๆ ยี่ห้อ BANDAI ไลน์ผลิต MG ครับ
สีสูตรทินเนอร์สำหรับโมเดลพลาสติก แบบใส ใช้สำหรับงานที่ต้องการความโปร่งแสง เช่น ชิ้นใสที่ไม่มีสี หากต้องการทำให้เหมือนชิ้นใสเขียวแบบ OOQANT ก็พ่นหรือทาสี CLEAR GREEN ลงไป (หรือผสม CLEAR YELLOW กับ CLEAR BLUE) หรืองานประเภท COATING ก็ทำได้
สี MR. METAL COLOR จัดอยู่ในสีประเภทสีเหล็ก ที่เหมาะกับการพ่นมากกว่า คือเมื่อพ่นลงบนชิ้นงานแล้ว สีจะออกด้าน รอให้สีแห้ง แล้วนำผ้านุ่มๆ มาถูๆ ก็จะเงาขึ้นมา แต่ข้อเสียคือ หากพ่นเคลียร์ทับ สีอาจหมองลงได้ (จริงๆ มีวิธีพ่นให้ไม่หมองได้ แต่ค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร) จึงนิยมนำมาทำสีในส่วนด้านใน ที่จะไม่โดนจับต้องในภายหลังมากกว่า เช่น เครื่องยนตร์ของโมเดล รถ เป็นต้น
สีทองสีเงิน ซึ่งจริงๆ จัดอยู่ในส่วนสีโลหะ แต่สามารถพ่นเคลียร์ทับได้ จริงสามารถใช้ได้อเนกประสงค์กว่า MR.METAL COLOR แต่ความเงาอาจจะสู้ไม่ได้ เหมาะกับงานที่ต้องพ่นทับเช่น พ่นสีเคลียร์แดง บนสีเงิน เราจะได้สี COATING RED เป็นต้น
MR.SURFACER หรือสีรองพื้น ใช้พ่นเพื่อเช็คพื้นผิว หรือปรับสีของพื้นผิวก่อนพ่นสีจริง เหมาะกับการเช็คว่าเราขัดชิ้นงานเรียบดีรึยัง อีกทั้ง ยังช่วยให้สียึดเกาะดียิ่งขึ้น หากใช้การทาสี ไม่จำเป็นต้องใช้สีรองพื้นนะจ๊ะ
สีสูตร อินาเมล หรือน้ำมันยี่ห้อ TAMIYA นั่นเอง ใช้ตัวทำละลายคือ ทินเนอร์น้ำมัน X-20 ของทามิย่า หรือจะใช้ น้ำมันไฟแช็ครอนสันก็ได้ (น้ำมันสนก็ละลายได้แต่ไม่แนะนำเพราะกลิ่นฉุนเกินไป) ใช้สำหรับการตัดเส้นหลังจากทำสีด้วยสีสูตรทินเนอร์เรียบร้อยแล้ว โดยการไหลสีลงตามเส้น รอแห้งแล้วเช็ดส่วนเกินออก โดยไม่ทำให้ชั้นสีทินเนอร์ละลาย อีกทั้งยังสามารถใช้เทคนิคนี้ทำสีในส่วนที่กั้นพ่นได้ยากอีกด้วย ก่อนจะไหลสีสูตรนี้ ควรจะพ่นเคลียร์เงาลงไปก่อน เพื่อเวลาเช็ดส่วนเกินจะได้เช็ดได้ง่าย
สีอินาเมลทามิย่า สีใสสูตรน้ำมัน คุณสมบัติไม่ต่างจากสีอินาเมลปกติ เพียงแต่เป็นชนิดใสเท่านั้น
สีสูตรทินเนอร์สำหรับโมเดลพลาสติกยี่ห้อ GAIA (ไกอา) เป็นสีที่เข้ามาในบ้านเราไม่กี่ปี(เท่าที่ทราบนะครับ) แต่ด้วยคุณสมบัติของสีที่เนื้อสีละเอียด พ่นเต็มง่าย ทำให้ถูกใจคนทำโมเดลในบ้านเราไม่น้ย แม้ราคาอาจจะสูงกว่ากันเซ่ซักหน่อย แต่ด้วยปริมาณที่มากกว่า ก็ถือว่าสมราคา
สีเคลียร์ต่างๆ ของไกอา การใช้งานไม่ต่างจากกันเซ่ เพียงแต่เฉดสีจะแตกต่างกว่านิดหน่อย เช่น เคลียร์แดงของกันเซ่ จะออก แดงสว่าง แต่ไกอาจะออกแดงเข้มสด เช่นหากจะทำสีเกราะไอรอนแมน เฉดสีเคลียร์แดงไกอา จะใกล้เคียงกว่า เป็นต้น
สีทอง เงิน และ Gun metal จัดเป็นสีเหล็ก มาตรฐานทั่วไป สามารถใช้งานได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับการใช้งาน สามารถใช้ทาก็ได้ พ่นเคลียร์ทับได้
สีเหล็กพิเศษตระกูล Star Bright ของไกอา จัดว่าเป็นสีขายดีของไกอาก็ว่าได้ ด้วยคุณสมบัติของสีที่มีความสวยของแต่ละเฉด เช่นสียอดฮิตอย่าง Star Bright Gold เป็นต้น ด้วยเนื้อสีที่ผสมเกล็ดโลหะ ทำให้ก่อนใช้ ต้องคนให้เกล็ดที่ก้นขวดเข้ากันกับสีที่ลอยด้านบนก่อนใช้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องพ่นสีพื้นดำเงา หรือ แดงเงา แล้วแต่ตามต้องการก่อน เพื่อให้สีพื้นช่วยขับความเงาของเกล็ดสีออกมา
สีมุขไกอา หากต้องการสีที่เงางามคล้ายๆ เมทาลิค แต่นุ่มนวลกว่า สีชนิดนี้น่าจะตอบโจทย์ที่ว่านี้ได้
สีเรืองแสง เหมาะสำหรับงานที่อยากให้เรืองแสงออกมาในแสงแบล็คไลท์ เนื้อสีจะค่อนข้างใส
สีตั้งต้น ใช้สำหรับผสมสีอื่นออกมามากกว่า โดยที่สีที่ผสมเฉดสีไม่ดรอปลง หรือใช้ผสมสีเคลียร์ต่างๆ ก็ได้ คล้ายๆ สีที่ใช้สำหรับโรงพิมพ์นั่นเอง
สีรองพื้นของไกอา ซึ่งทาง gaia notes ได้ผลิตออกมาหลากหลายสีมาก ทั้งสีเนื้อ สำหรับงานฟิกเกอร์ สีดำ สำหรับงานสีไฮไลท์ หรือแม้กระทั่ง multi primer รองพื้นสำหรับใช้งานได่หลากหลายพื้นผิว เป็นต้น
น้ำยา Mr. Mark setter และ Mr.mark softer เป็นน้ำยาใช้กับ ดีคอลน้ำ ตัว setter ช่วยเพิ่มกาวให้แก่ดีคอล ทำให้ช่วยติดได้ดีขึ้น ส่วน softer ช่วยให้ดีคอลนุ่มลง เหมาะกับการติดดีคอลในจุดโค้ง ทำให้ดีคอลแนบสนิทกับพื้นผิวได้ดี ข้อความระวัง อย่าใช้เยอะ เพราะอาจจะทำให้ดีคอลเปื่อยยุ่ยได้
ทินเนอร์กันเซ่ ฉลากสีฟ้า แบบปกติ ฉลากสีเหลือง ชนิดแห้งช้า เหมาะกับงานสีที่ต้องการความเงางามของสี
เคลียร์สูตรน้ำชนิดกระป๋อง top coat มี 3 ชนิดคือ flat (ด้าน) semi gloss (กึ่งเงากึ่งด้าน) gloss (เงา) เป็นเคลียร์สูตรอ่อน เหมาะกับการพ่นทับมาร์คเกอร์ เพราะจะไม่ทำให้มาร์คเกอร์ละลายมากนัก จึงเป็นที่นิยมของนักต่อดิบตัดเส้นทั้งหลาย
เคลียร์สูตรทินเนอร์ mr. Super clear หรือที่บางคนเรียกว่าแลคเกอร์ มี 3 ชนิดเช่นกัน ใช้สำหรับพ่นปิดงานสี หรือก่อนจะวอชตัดเส้น (ข้างกระป๋องที่เขียนว่า Matt ก็คือแบบ flat หรือด้านนั่นเอง)
Mr. Super clear UV Cut เป็นเคลียร์ที่ผสมสารกันรังสียูวี ช่วยยืดอายุสีไม่ให้เหลืองก่อนวัยอันควร เวลาพ่นจะไม่รู้สึกแตกต่างจากแบบทั่วไป เพราะมันไม่เห็นผลทันตานั่นเอง
กาวเชื่อมพลาสติก tamiya cement ใช้สำหรับเชื่อมพลาสติกให้ละลายรวมกันเป็นเนื้อเดียว ใช้งานได้หลายแบบ ทั้งติดชิ้นส่วน หรือติดชิ้นประกบ เพื่ออุดขัด ในรูปจะมี 2 แบบ ซึ่งถ้าจำไม่ผิดจะเหมือนกัน แตกต่างแค่ปริมาณเท่านั้น จริงๆ กาวเชื่อมมีหลายรูปแบบ ทั้งสำหรับพลาสติก ABS หรือใช้ติดชิ้นใส ก็หามาใช้ให้เหมาะกับงานจะดีที่สุด
สุดท้ายนี้ ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้นะครับ คุณเอก SonicRoute
ขอบคุณร้าน Go Animate ที่ให้ยืมสินค้ามาทำบทความในครั้งนี้ สนใจสินค้า >> https://www.facebook.com/goanimateshop
ขอบคุณ คุณเอก SonicRoute ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้สีในครั้งนี้ด้วยครับ
ที่มา http://mydesign-club.net/2014/10/color-model/ ขอขอบคุณ ณ ที่นี้ด้วยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น